หน่วยงานที่รับผิดชอบ : วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย
สถาบันหลัก :
1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
3. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
5. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1. วันที่รับสมัคร: 6 – 10 พฤษภาคม 2567
2. จำนวนผู้ฝึกอบรมที่จะรับทั้งหมด 34 คน (รวมทั้ง 9 สถาบัน)
2.1 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.1.1 Internal medicine
2.1.2 Nephrology
2.1.3 Infectious disease
2.1.4 Hematology/Oncology
2.1.5 Critical care
2.1.6 Pediatrics
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
2.2 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 2 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.2.1 Internal medicine
2.2.2 Infectious disease
2.2.3 Critical care
2.2.4 Oncology
2.2.5 Cardiology
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
2.3 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 5 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.3.1 Oncology
2.3.2 Community Pharmacy
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
2.4 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 5 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.4.1 Internal medicine
2.4.2 Infectious disease
2.4.3 Pediatrics
2.4.4 Critical care
2.4.5 Nephrology
2.4.6 Hematology / Oncology
2.4.7 Neurology Diseases
2.4.8 Psychiatry Diseases
2.4.9 Geriatrics Pharmacotherapy
2.4.10 Cardiology
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
2.5 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.5.1 Infectious disease
2.5.2 Cardiology
2.5.3 Oncology
2.5.4 Neurology Diseases
2.5.5 Nephrology
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
2.6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 4 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.6.1 Internal medicine
2.6.2 Infectious disease
2.6.3 Critical care
2.6.4 Nephrology
2.6.5 Hematology / Oncology
2.2.4 Oncology
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
2.7 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 5 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.7.1 Internal medicine
2.7.2 Critical care
2.7.3 Nephrology
2.7.4 Psychiatry
2.7.5 Pediatrics
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
2.8 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 2 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.8.1 Cardiology
2.8.2 Infectious disease
2.8.3 Nephrology
2.8.4 Oncology
2.8.5 Pediatrics
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
2.9 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 3 คน
สาขาที่เปิดรับฝึกอบรม
2.9.1 Cardiology
2.9.2 Infectious disease
2.9.3 Nephrology
2.9.4 Oncology
2.9.5 Internal medicine
2.9.6 Neurology
2.9.7 Psychiatry
และสาขาอื่นๆ การฝึกอบรมบางสาขา ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันฝึกอบรม
3. คุณสมบัติของผู้สมัคร
- เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และ
- มีประสบการณ์ในการให้บริการทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยอย่างน้อย 500 ชั่วโมง (จำนวนชั่วโมงอาจนับรวมระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติงานในหลักสูตรการศึกษา) หรือ
- มีคุณสมบัติเทียบเท่าที่สภาเภสัชกรรมรับรอง
4. หลักฐานประกอบการรับสมัคร
- ใบสมัครที่กรอกข้อความครบถ้วน และติดรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว เรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 ชุด
- สำเนาใบปริญญาบัตร (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว) จำนวน 2 ชุด
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จำนวน 2 ชุด
- หนังสือรับรองว่ากำลังศึกษาภาคการศึกษาสุดท้าย (สำหรับผู้ที่กำลังศึกษา) จำนวน 2 ชุด
- สำเนาใบประมวลผลการศึกษา (Transcript) ระดับปริญญาตรี/โท/เอก จำนวน 2 ชุด
- สำเนาใบทะเบียนสมรส / ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (กรณีชื่อ-สกุล ไม่ตรงกับหลักฐานการสมัครอื่นๆ)
- หนังสือรับรองการศึกษาและคุณสมบัติประจำตัว (Recommendation) ของผู้ประเมินทั้งหมด 3 คน
คนละ 1 ชุด - Curriculum Vitae (CV) จำนวน 2 ชุด
- หนังสือรับรองประสบการณ์ในการให้บริการทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยอย่างน้อย
500 ชั่วโมง จำนวน 2 ชุด - หนังสืออนุญาตให้เข้ารับการฝึกอบรมจากต้นสังกัด จำนวน 2 ชุด
- สำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมสมัครสอบคัดเลือกฯ จำนวน 1 ฉบับ
5. ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่ :
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ฯ ดังในข้อ 6 หรือ Download ใบสมัครและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่
Website วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ http://thaibcp.pharmacycouncil.org
6. ติดต่อผู้รับผิดชอบหลักสูตรของสถาบันหลัก
6.1 ผศ.ดร.ภญ.สิริมา สิตะรุโน ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โทรศัพท์ 074 288 872 โทรสาร 074 428 222 E-mail addresses: sirima@pharmacy.psu.ac.th
6.2 อ.ดร.ภญ.วิรินทร์ อันล้ำเลิศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
โทรศัพท์ 08 1005 1456 E-mail address: wirin_wirin@hotmail.com
6.3 ผศ.ดร.ภก.สุธาร จันทะวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์ 043 348 353 E-mail address: suthch@kku.ac.th
6.4 รศ.ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2644 8694 E-mail address : pytss@mahidol.ac.th
6.5 ผศ.ดร.ภญ.โชติรัตน์ นครานุรักษ์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทรศัพท์ 08 6563 9695 E-mail address : chotirat.n@pharm.chula.ac.th
6.6 ผศ.ดร.ภญ.จุฑาทิพย์ สุพรรณกลาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โทร 08 9194 2995 E-mail address : juthathip_s@hotmail.com
6.7 ผศ.ดร.ภญ.วรธิมา อยู่ดี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร 053 944 351 E-mail address : voratima.silavanich@cmu.ac.th
6.8 อ.ดร.ภญ.ปวลี เนียมถาวร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โทร 02-986-9213 E-mail address: npawalee@staff.tu.ac.th
6.9 อาจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงอัญมณี ลาภมาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โทร 045 353 623 E-mail address: anyamanee.l@ubu.ac.th
7. ส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานประกอบ ไปที่ :
สภาเภสัชกรรม (วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย) ชั้น 8 อาคารมหิตลาธิเบศร กระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หรือ อีเมล thaibcp@gmail.com
8. ค่าธรรมเนียมสมัครสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมฯ
เป็นเงิน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ชำระได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
1. ส่งเป็นเช็ค /ธนาณัติ หรือ Draft สั่งจ่ายในนาม สภาเภสัชกรรม
2. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
– ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยกระทรวงสาธารณสุข ชื่อบัญชี สภาเภสัชกรรม
เลขที่บัญชี 340-2-01454-8 ประเภทบัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์ หรือ
– ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงสาธารณสุข ชื่อบัญชี สภาเภสัชกรรม
เลขที่บัญชี 142-1-06705-6 ประเภทบัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์
9. กำหนดการสอบ : วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 รูปแบบการสอบ : สอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
10. คำแนะนำหลักสูตร
10.1 หลักสูตรนี้มุ่งเน้นเพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีความรู้ และความชำนาญในสาขาเภสัชบำบัด
อย่างครบถ้วนและมีความสามารถในการทำการวิจัยเชิงลึก
10.2 ระยะเวลาการฝึกอบรม 4 ปี โดยแบ่งการฝึกอบรมดังนี้
ปีที่ 1 General Residency Training ระยะเวลา 1 ปี
ปีที่ 2-3 Specialized Residency Training ระยะเวลา 2 ปี
ปีที่ 4 Research Fellowship ระยะเวลา 1 ปี
ผู้ฝึกอบรมสามารถเข้ารับการฝึกอบรมไม่ต่อเนื่องได้ โดยสามารถเว้นช่วงฝึกอบรม หลังจากสิ้นสุดการฝึกอบรม ในปีที่ 1 และปีที่ 3 ได้โดยระยะเวลาการฝึกอบรมโดยรวมไม่เกิน 8 ปี จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน